วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประวัติความเป็นมาของ "ก๋วยเตี๋ยวเรือ"



ถ้าพูดถึงยุคทองแห่งอาหารของไทยก็หน้าจะเป็นสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ.2199-2231) ซึ่งมีการเปิดการค้ากับอารยะประเทศ ทำให้อาหารสารพัดชนิดหลั่งไหลเข้ามาในเมืองไทย และมีการดัดแปลงให้เข้ากับท้องถิ่นและวัตถุดิบในท้องที่ ชาวจีนที่มาค้าขายก็นำก๋วยเตี๋ยวมาทำกินกัน และ แบ่งให้ผู้ร่วมค้าได้กินก็เป็นสิ่งแปลกใหม่และสิ่งสำคัญคือก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานเดี่ยวเพียงแค่ลวกเส้นใส่หมูเติมน้ำซุปก็กินได้แล้วด้วยความรวดเร็วและสะดวกสบายจึงทำให้ก๋วยเตี๋ยวกลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ก๋วยเตี๋ยวในช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุดก็จะเป็นในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปีพ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ การถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าในเดือนตุลาคมก็ยังต้องใช้เรือพายไป ส่วนในทำเนียบรัฐบาลการประชุมคณะรัฐมนตรีจึงต้องจ้างก๋วยเตี๋ยวเรือเข้าไปเลี้ยงคณะรัฐมนตรีที่มาเข้าร่วมประชุมผู้นำประเทศต่างๆต่างชมว่าอร่อยจึงมีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวและให้มีการขายก๋วยเตี๋ยวให้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและวัฒนธรรมสร้างชาติ หน่วยงานราชการทุกกรม ก็หันมาขายก๋วยเตี๋ยวกันมากขึ้น ก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็น “ยุคทองแห่งก๋วยเตี๋ยว”



ในสมัยก่อนพ่อค้าแม่ค้าก๋วยเตี๋ยวเรือใน 1 ลำ มีเพียง 1 คนเท่านั้น ต้องทำทุกอย่างตั้งแต่ พายเรือ ลวกเส้น ปรุงก๋วยเตี๋ยว เสริฟ เก็บตังค์ เก็บชาม ล้างชาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทำโดยไม่ได้ขยับเลยแม้แต่น้อย พอมีคนเรียก ก็จะมาจอดเทียบท่า เอาขาข้างนึงยันบันไดท่าน้ำเป็นฐานไว้ แล้วเริ่มลวกก๋วยเตี๋ยวขาย ส่วนกระบวนการล้างชามนั้นก็แค่แกว่งๆจุ่มๆในคลองนั่นเอง (เพราะเมื่อก่อนน้ำในคลองสะอาดจึงล้างได้) การที่คนขายอยู่ในเรือ คนซื้ออยู่บนฝั่ง การส่งก๋วยเตี๋ยวให้ลูกค้าจึงค่อนข้างลำบาก หากเป็นชามใหญ่ก็จะหนักทำให้ยกลำบาก และเรือที่โคลงเคลงอาจทำให้น้ำซุปหกลวกคนขายได้ ดังนั้นก๋วยเตี๋ยวเรือจึงทำชามเล็กๆ น้ำซุปน้อยๆแต่เข้มข้นเข้าไว้



แต่เมื่อเวลาผ่านไปวิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป จากก๋วยเตี๋ยวที่ต้องพายเรืออยู่ในคลองต้องย้ายมาอยู่ในเมืองแทน ทำให้มีการพัฒนาหลากหลายตามในแต่ละถิ่นแต่ละภาค เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยาก็จะจำกัดความว่า สูตรโบราณ ก๋วยเตี๋ยวหมูใส่กุ้งแห้ง จนมาเป็นก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย แต่คนเมืองสุโขทัยแต่โบราณจะเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวไทย ส่วนที่ต่างจากถิ่นอื่นก็คือการปรุงด้วยน้ำมะนาว ถั่วลิสงป่น และถั่วฝักยาวเป็นสูตรหลัก ซึ่งก็คล้ายกับก๋วยเตี๋ยวของเมืองกำแพงเพชรที่ เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวชากังราว เพียงต่างกันที่สุโขทัยใส่หมูแดงเพิ่มเข้าไป และ ก๋วยเตี๋ยวชากังราวปรุงรสด้วยหัวไช้โปกับกุ้งแห้ง และในลักษณะที่คล้ายกันก็จะมีที่เมืองใต้ ก็จะใช้หมูสามชั้นต้มหั่นใส่แทนหมูแดง แต่จะเปลี่ยนจากถั่วฝักยาวมาเป็นผักบุ้งแทนคล้ายก๋วยเตี๋ยวอยุธยาที่ใส่ผักบุ้ง และก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตเมืองปทุมธานีก็จะเหมือนของอยุธยาเช่นกันและในเร็วๆนี้ ที่อุบลราชธานี เตรียมพบกับก๋วยเตี๋ยวเรือที่เป็นสูตรโบราณดั้งเดิม ด้วยสูตรลับเฉพาะ ที่กินแล้วเหมือนย้อนเข้าไปในสมัยอยุธยากันเลยทีเดียว อีกไม่นานเกินรอ ที่นี่ที่เดียว “โฮมก๋วยเตี๋ยวเรือ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติลอดช่องวัดเจษฯ แฟนพันธุ์แท้เท่านั้นที่รู้

ลอดช่องวัดเจษฯ เป็นชื่อที่เรียกติดปากกันไปแล้ว ถ้าจะกินลอดช่องก็ต้องพ่วงคำว่าวัดเจษฯ เข้าไปด้วย ถือว่าเป็นลอดช่องที่ทุกคนกิน ของมันต้องมีอ...