วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ประวัติลอดช่องวัดเจษฯ แฟนพันธุ์แท้เท่านั้นที่รู้


ลอดช่องวัดเจษฯ เป็นชื่อที่เรียกติดปากกันไปแล้ว ถ้าจะกินลอดช่องก็ต้องพ่วงคำว่าวัดเจษฯ เข้าไปด้วย ถือว่าเป็นลอดช่องที่ทุกคนกิน ของมันต้องมีอะไรประมาณนี้


ประวัติความอร่อย ลอดช่องวัดเจษฯ แฟนพันธุ์แท้เท่านั้นที่รู้
ลอดช่องอยู่คู่คนไทยมาช้านาน ให้พูดถึงยี่ห้อโปรดก็ไม่พ้น ลอดช่องวัดเจษฯ หากจะให้พูดว่าลองช่องเป็นขนมไทยแท้ๆ ก็ยังไม่รู้ข้อเท็จจริงได้แน่ชัด เพราะมีความเชื่อว่าลอดช่องกำเนิดในทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินโดนีเซีย หรือ มาเลเซีย แต่ยังไงก็ตาม ลอดช่องไทยก็อยู่มาทุกยุคทุกสมัย ก่อนจะเป็นชื่อว่าลอดช่องนั้น ขนมชนิดนี้จะถูกเรียกว่า “นกปล่อย” เพราะมันเป็นสีเขียว ลอดช่องออกมาเหมือนนกถ่ายมูลปล่อยของเสีย

หลายคนคิดว่าลอดช่องวัดเจษฯ มีของปลอม?
คำตอบคือ ไม่มีของปลอม เป็นสูตรเดียวกันแต่ต่างกันตรงผู้ผลิตค่ะ ผู้ผลิตเป็นพี่น้องกัน ที่ได้สูตรจากคุณพ่อคุณแม่ หน้าตาของซองอาจจะไม่เหมือนกัน แต่การันตีความอร่อยด้วยคำว่าวัดเจษฯ แต่ละผู้ผลิตจะปรับสไตล์เพิ่มเติมให้เข้ากับความชอบของลูกค้าแต่ละคน ซึ่งวันนี้เราก็มีให้ทานกันแล้วที่ร้าน “โฮมก๋วยเตี๋ยวเรือ” อย่าลืมมาลิ้มลองกันนะคะ

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เฉาก๊วย ของหวานสีดำๆ ที่มากคุณประโยชน์


เฉาก๊วย เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นกลม เปราะและหักง่ายคล้าย กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมดิน ยาวได้ 2-3 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว เป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื้อย ก้านใบสีขาว ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ใบเป็นสีเขียวสด เวลาใบดกจะหนาแน่น ทำให้น่าชมมาก

ประโยชน์ของเฉาก๊วย
ของหวานสีดำๆ เด้งดึงที่เคี้ยวหนึบหนับ และมีรสหวานจากน้ำเชื่อม รวมถึงความเย็นฉ่ำจากน้ำแข็งที่ใส่ผสมลงไป ทำให้ “เฉาก๊วย” นั้นกลายเป็นหนึ่งในของหวานยอดฮิตในช่วงหน้าร้อนมากๆ แบบนี้ แต่นอกจากความหวานเย็นที่กินแล้วสดชื่นขึ้นมาในทันใด เฉาก๊วยก็ยังมีสรรพคุณอื่นๆ ที่ช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย
เฉาก๊วยแท้ๆ จะทำมาจากต้นเฉาก๊วย ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลเดียวกับมินต์ (พืชจำพวกสะระแหน่) พบได้มากในประเทศจีน จึงทำให้ขนมเฉาก๊วยมีที่มาจากเมืองจีน และมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีน (แต้จิ๋ว) แต่ก็ยังมีการเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามภาษาถิ่นอีกด้วย อาทิ ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า เหลียงเฝิ่น หรือ เซียนเฉ่า ที่แปลว่าหญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า จินเจา เป็นต้น ส่วนภาษาไทยเราก็เรียกว่า เฉาก๊วย ตามอย่างภาษาจีนแต้จิ๋ว

สรรพคุณของเฉาก๊วยที่เรารู้กันดีอยู่แล้วก็คือ ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ นอกจากนี้แล้วยังช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อน ร้อนใน ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดอาการไขข้ออักเสบ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือหากว่านำเฉาก๊วยมาต้มให้เดือดแล้วนำน้ำเฉาก๊วยมาดื่มเป็นประจำจะช่วยลดอาการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน แต่ข้อควรระวังก็คือ น้ำตาลที่ใส่ผสมลงไปเพื่อให้มีรสชาติเพิ่มขึ้นนั้นต้องไม่มากเกินไปด้วย เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์ อาจจะได้ผลเสียจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปได้

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ผักบุ้ง ของดีที่หาทานได้ใกล้ตัว


ผักบุ้งไทย

ผักบุ้งเป็นหนึ่งในผักที่คนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งในประเทศไทยมีผักบุ้งที่เรารู้จักและนำมารับประทานอยู่ทั้งหมด 3 ชนิด นั่นก็คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีน และผักบุ้งนา ซึ่งก็ล้วนแต่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ อย่างที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไรก็คือ ผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากนี้ผักบุ้งยังมีสรรพคุณอีกมากมายที่เราคาดไม่ถึง บอกได้เลยว่าผักบุ้งเป็นอาหารที่ไม่ควรพลาด !
สารอาหารที่อยู่ในผักบุ้งถือว่าเป็นส่วนที่โดดเด่นที่ทำให้เจ้าพืชธรรมดาๆ ชนิดนี้กลายเป็นที่สนใจอย่างมาก ด้วยประโยชน์อันมากมายที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ผักบุ้งจึงกลายเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคนนิยมมากมายไม่แพ้อาหารชนิดอื่นๆ โดยประโยชน์ของผักบุ้งมีดังนี้ค่ะ

1.รักษาอาการนอนไม่หลับ
2.บำรุงเลือด
3.บำรุงตับ
4.ลดน้ำตาลในเลือด
5.แก้ท้องผูก
6.ช่วยลดน้ำหนัก
7.ลดคอเลสเตอรอล
8.ผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา
9.ป้องกันโรคหัวใจ
10.ต้านมะเร็ง

ผักบุ้งจีน

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่นับแทบไม่หวาดไม่ไหว อาทิ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยรักษารังแค รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน ช่วยหยุดเลือดกำเดา และรักษาตาปลา เป็นต้น เรียกได้ว่าสิ่งดีๆ จากผักบุ้งนี่มีเพียบ จะเรียกว่าเป็นซูเปอร์ฟู้ดอีกชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ ยังไงก็อย่าลืมทานผักบุ้งกันเยอะๆ นะคะ ถ้าไม่ชอบทานแบบสดๆ ก็สามารถทานคู่กับเมนูแสนอร่อย นั้นก็คือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ นั้นเอง อยากอร่อแถมได้ประโยชน์ต้องมาทานที่นี่เลยค่ะ “ร้านโฮมก๋วยเตี๋ยวเรือ” รับรองแซบถึงเครื่องแน่นอนค่ะ

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อยากบอกรสชาติเป็นภาษาอังกฤษ พูดยังไงดีนะ


หลักๆ ที่เรารู้จักกันคือ sweet หวาน, sour เปรี้ยว, salty เค็ม, bitter ขม และ spicy เผ็ดจัดจ้าน (สไตล์อาหารไทย) ซึ่งหลายครั้งที่คำพวกนี้สื่อถึงรสชาติสุดอร่อยของอาหารได้ไม่ตรงจุด มันยังไม่ใช่ ไหนจะรสจัด ไหนจะรสจืด ฉะนั้นลองไปดูคำอื่นๆ กันนะคะ
1. acidic เปรี้ยวมากๆๆๆๆ
2. tart เปรี้ยวนิดๆ
3. acrid ฉุนๆ
4. sharp เผ็ดร้อนรุนแรง
5. astringent ขมๆ ฝาดๆ แบบยา
6. bitter-sweet หวานและขมในเวลาเดียวกัน (นึกถึงดาร์กช็อคโกแลตสิ)
7. sweet-and-sour หวานและเปรี้ยวในเวลาเดียวกัน
8. mellow หวานฉ่ำ แบบผลไม้หวานๆ
9. creamy รสครีมๆ หอมมัน
10. cheesy รสเนย หรือจะใช้ว่ารสเลี่ยนก็ได้
11. savoury รสเค็มและเผ็ด ไม่มีรสหวาน ออกมาแล้วอร่อย
12. fishy รสคาว
13. greasy มันแผล็บ
14. juicy ฉ่ำ แบบพอกัดแล้วรู้สึกได้ว่ามีน้ำออกมาจากอาหารนั้น
15. mild รสนุ่ม, รสอ่อน, รสไม่จัด
16. brackish รสกร่อย เหมือนน้ำกร่อย มีรสเค็มปะแล่มนิดๆ
17. watery รสจืด, รสจางๆ เหมือนใส่น้ำเยอะเกินไป
18. bland ไร้รสชาติ
19. stale เหม็นหืน, กลิ่นเก่า
20. flavorful ครบรสลงตัว
นอกจากคำอธิบายแต่ละรสแล้ว ยังมีวิธีชมว่าอาหารอร่อยอีกหลายคำเลยนะคะที่มากกว่า good, delicious, yummy และ tasty และแถมอีกคำคือ appetizing สำหรับน่ากินค่ะ It looks appetizing. มันดูน่ากินจัง

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561

แคบหมูกินนิด กินหน่อยก็มีปณะโยชน์


ประโยชน์ของแคปหมู

ในประเทศไทย แคบหมูมักใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ก๋วยเตี๋ยว น้ำเงี้ยว ฯลฯ หรือเป็นส่วนผสมประกอบอาหารอื่นๆ เช่น พวกน้ำพริกหรือแกง
แคบหมูมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ จึงใช้เป็นของคบเคี้ยวหรือเครื่องเคียง แคบหมูมีไขมันและโซเดียมสูง ไขมันในแคบหมูนั้นทัดเทียมกับในมันฝรั่งทอด ขณะที่โซเดียมในแคบหมูซึ่งบริโภคแต่ละครั้งนั้นมีปริมาณมากกว่าที่ได้จากการบริโภคมันฝรั่งทอดครั้งหนึ่งๆ ถึงราวห้าเท่า การบริโภคแคบหมูครั้งละยี่สิบแปดกรัม (หนึ่งออนซ์) จะได้โปรตีนมากกว่าการบริโภคมันฝรั่งทอดถุงหนึ่งราวเก้าเท่า และในแคบหมูชนิดไขมันต่ำ มีไขมันน้อยกว่ามันฝรั่งทอดชนิดไขมันสูง แต่ในขณะที่97%ของไขมันในมันฝรั่งทอดเป็นไขมันไม่อิ่มตัว มีเพียงร้อยละ43ของไขมันแคบหมูนั้นไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่เป็นกรดโอเลอิก อันเป็นไขมันที่เป็นผลดีต่อสุขภาพชนิดเดียวกับที่พบในน้ำมันมะกอก ขณะที่อีกร้อยละสิบสามของไขมันแคบหมูนั้นเป็นกรดสตีแอริก อันเป็นไขมันอิ่มตัวที่เชื่อกันว่าไม่เพิ่มระดับคอเลสเทอรอล แต่ทั้งนี้เมื่อนับปริมาณไขมันอิ่มตัวในแคบหมู ก็มีถึง53% ซึ่งยังนับว่าเป็นอาหารไขมันสูงอยู่ดี


จะเห็นว่าข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมา ก็เป็นความรู้ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเลือกกินอาหารได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเป็นกังวล แต่ถึงกระนั้นเราก็ควรกินอาหารให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่กินอะไรมากจนเกินไปและน้อยจนเกินไปเพื่อให้เกิดความสมดุลของร่างกาย แต่ถ้าพูดถึงแคบหมูที่กินคู่กับก๋วยเตี๋ยวแล้วลงตัวสุดๆ เราของแนะนำร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนี้เลย “โฮมก๋วยเตี๋ยวเรือ” ที่มีทั้งก๋วยเตี๋ยวที่มีรสชาติเข้มข้น อร่อย ถึงใจ และยังมีเครื่องเคียงที่เรากล่าวไป นั้นก็คือ... “แคบหมู” บอกเลยว่าเด็ดสุดในจังหวัดอุบลราชธานี

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ถั่วฝักยาวเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงหัวใจได้


สมุนไพร

"ถั่วฝักยาว" เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เรามักได้เห็นและได้กินกันเกือบทุกวัน นั่นเพราะถั่วฝักยาวเป็นส่วนประกอบของอาหารได้หลากหลายประเภท ไม่ว่ากินสุกหรือกินสดก็ได้ทั้งนั้น ซึ่งจะใส่ในส้มตำต่างๆ กินกับขนมจีนน้ำยา หรืออยู่ในก๋วยเตี๋ยวและอาหารตามสั่ง เป็นต้น

สรรพคุณทางยา มากคุณค่า โภชนาการของ "ถั่วฝักยาว"

เพราะฉะนั้นหากเจอถั่วฝักยาวที่ไหนจงดีใจกันนะ เหตุผลคือถั่วฝักยาวจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง และมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในส่วนของเกลือแร่และวิตามินหลากหลาย อาทิ ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แมงกานีส แมกนีเซียม โฟเลตวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และในถั่วฝักยาวยังอุดมด้วยเส้นใยอาหารรวมถึงโปรตีนสูงมาก จึงมีคุณสมบัติเด่นคือ จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มนาน และทำให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายดีด้วย
นอกจากนี้ถั่วฝักยาวมีสรรพคุณทางยาช่วยบำรุงไตและม้ามที่ให้ผลดีไม่แพ้สมุนไพรชนิดอื่น ยิ่งไปกว่านั้นคือในถั่วฝักยาวมีวิตามินซีที่มากพอในการช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสที่จะทำงานร่วมกับธาตุเหล็กได้ดี ซึ่งจะส่งผลในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
แต่การจะนำถั่วฝักยาวมาใช้ประกอบอาหารนั้น ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าที่สะอาดหลายๆ ครั้ง เนื่องจากถั่วฝักยาวเป็นผักที่มีการสะสมของยาฆ่าแมลงและสารเคมีซึ่งตกค้างอยู่มาก เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายและการได้ประโยชน์จากถั่วฝักยาวมากกว่าโทษ


13 สรรพคุณของถั่วฝักยาว ประโยชน์ในการรักษาโรค

1. ถั่วฝักยาวมีสรรพคุณที่สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะธาตุเหล็กและฟอสฟอรัสในถั่วฝักยาวนั้นมีอยู่ในปริมาณที่สูง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้กระดูก ฟัน และเส้นผมแข็งแรงยิ่งขึ้นนั่นเอง
2. ถั่วฝักยาวมีสารสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างให้การทำงานของฮีโมโกลบินดีขึ้น และยังทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ส่งผลดีต่อร่างกายไม่ให้อ่อนเพลียง่าย
3. สรรพคุณถั่วฝักยาวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมาก จะช่วยเสริมสร้างให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟัน ดูแลไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย ลดอาการอักเสบ และบำรุงเนื้อเยื่อและผิวพรรณให้ผ่องใส สวยอย่างมีสุขภาพดี
4. ถั่วฝักยาวมีสรรพคุณที่ใช้เป็นยาเพื่อช่วยบำรุงไตและม้าม โดยการดื่มน้ำคั้นจากเมล็ดแห้งหรือสดของถั่วฝักยาว
5. ถั่วฝักยาวมีคุณสมบัติที่ช่วยให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานดีขึ้น เพราะถั่วฝักยาวมีสารสำคัญในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จึงทำให้น้ำหนักไม่ขึ้นง่ายหรือมีไขมันส่วนเกิน
6. ประโยชน์ถั่วฝักยาวมีเส้นใยอาหารสูง ซึ่งมีทั้งชนิดที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ ซึ่งมีผลดีต่อระบบการขับถ่าย ทำให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น ป้องกันโรคท้องผูก และยังเหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะถั่วฝักยาวมีโปรตีนสูงและไขมันน้อยจึงทำให้อิ่มนานและอิ่มเร็ว
7. สรรพคุณของถั่วฝักยาวมีฤทธิ์ในการช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตัน รวมทั้งช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจได้
8. ถั่วฝักยาวมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลที่เป็นมิตรกับร่างกาย จึงเป็นผักสมุนไพรที่เหมาะเป็นอาหารของคนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
9. ถั่วฝักยาวช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้องได้เป็นอย่างดี ด้วยวิธีง่ายๆ แค่กินถั่วฝักยาวสดๆ ก็พอ
10. ประโยชน์ของถั่วฝักยาวเป็นแหล่งของวิตามินเอ ที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีหน้าที่สำคัญช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดภาวะต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ทำให้สายตามองเห็นได้อย่างชัดเจน
11. ถั่วฝักยาวมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดบวม แก้อาการปวดตามเอวได้ดี และรักษาแผลที่เกิดบริเวณเต้านม
12. ถั่วฝักยาวมีฤทธิ์ช่วยในการแก้อาเจียน ดับกระหาย ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
13. ถั่วฝักยาวยังใช้ประโยชน์เป็นยาเพื่อรักษาฝีเนื้อร้าย ทำให้เนื้อเยื่อดีเจริญเติบโตเร็วขึ้น และสามารถช่วยรักษาโรคหนองในที่มีน้ำหนองไหล
ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักสมุนไพรที่มีรสชาติอร่อย และนำมาใช้ประกอบอาหารได้เกือบทุกเมนูแล้ว ยังอุดมด้วยประโยชน์ดีๆ มากมายต่อร่างกายอีกด้วยนะ ได้ทราบถึงสรรพคุณและคุณประโยชน์ของถั่วฝักยาวกันขนาดนี้แล้ว มื้อต่อไปถั่วฝักยาวต้องเป็นอาหารที่เราจะกินคำแรกแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

กระเทียมโทนเป็นเครื่องเทศที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

เครื่องเทศ

กระเทียมโทน เป็นกระเทียมพันธุ์ที่ไม่มีกลีบหรือมีเพียงหัวเดียว ไม่นิยมใช้เป็นเครื่องเทศ เพราะมีกลิ่นฉุนน้อย แต่นิยมดองน้ำผึ้งหรือน้ำตาลรับประทาน เพราะหัวมีเพียงหัวเดียว เนื้อหัวมีขนาดใหญ่ มีเนื้อมาก สามารถรับประทานได้ทั้งหัว
กระเทียมโทน เป็นกระเทียมที่ปลูกได้จากกลีบกระเทียมทั่วไป แต่การเติบโตไม่สมบูรณ์หรือกลีบบางกลีบมีการแตกกลีบต่ำ โดยเฉพาะกลีบกระเทียมตรงกลาง ทำให้หัวกระทียมไม่แบ่งกลีบ กลายเป็นกระเทียมหัวเดียว


ประโยชน์กระเทียมโทน

1. หัว และใบกระเทียมโทนสดใช้ประกอบอาหาร ทั้งเมนูผัด และต้ม ช่วยดับกลิ่นคาว และเพิ่มรสเผ็ดอ่อนๆ
2. หัว และใบกระเทียมโทนสดใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงหรือรับประทานคู่กับอาหารจำพวกลาบ น้ำตก ซุบหน่อไม้ เป็นต้น
3. หัวกระเทียมโทนนิยมใช้ดองหวานหรือดองน้ำผึ้ง เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจาก หัวกระเทียมไม่มีกลีบ มีหัวเดียว ให้เนื้อหัวมาก รับประทานได้ทั้งหัว เมื่อดองแล้วจะมีรสหวาน มีกลิ่นหอม นิยมรับประทานหัวดองหรือใช้น้ำดองปรุงรสอาหาร


สรรพคุณกระเทียมโทน

หัวกระเทียม
- ช่วยบรรเทาอาการไอ โดยรับประทานหัวสดหรือต้มน้ำดื่ม
- ช่วยรักษาแผล แก้แผลเน่าเปื่อย โดยผ่าหัวกระเทียมหรือบด แล้วทาพอกแผล
- ช่วยรักษาแผล แก้แผลเน่าเปื่อย โดยผ่าหัวกระเทียมหรือบด แล้วทาพอกแผล
- ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
- แก้โรคหอบหืด
- แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
- ช่วยบำรุงปอด แก้วัณโรค
- ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
- ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด
- ช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม
- ช่วยป้องกันหัวใจขาดเลือด
ใบกระเทียม
- ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
หลังจากที่ได้รู้จักสรรพคุณของกระเทียมไปแล้วนะคะ สำหรับใครที่ไม่ชอบทานกระเทียมแบบสดๆก็หันมาลองทานอาหารที่ใช้กระเทียมเป็นส่วนผสมเพื่อให้การทานกระเทียมมันง่ายขึ้น ถ้ายังไม่รู้ว่าจะกินเมนูอะไร แนะนำเลยค่ะ ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่ทานง่ายและยังมีส่วนผสมของกระเทียมอีกด้วย ลองมาทานก๋วยเตี๋ยวของโฮมก๋วยเตี๋ยวเรือดูสิค่ะ ทั้งอร่อยทั้งมีประโยชน์

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เก๊กฮวยนิยมใช้เป็นยาสมุนไพร รักษาแก้ร้อนใน


ยาสมุนไพร

เก๊กฮวย เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน มีพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวยทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองหังโจ ประเทศจีน ส่วนเก๊กฮวยสีเหลือง ไม่นิยมทำน้ำเก๊กฮวย เพราะน้ำให้รสขม แต่นิยมใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับแก้ร้อนใน
สำหรับดอกเก๊กฮวยที่ชาวยุโรปนิยมใช้ชงเป็นชาดื่มเหมือนกับเก๊กฮวยของชาวเอเชียจะเป็นดอกเก๊กฮวยที่อยู่ในวงศ์เดียวกันดาวเรืองหรือเก๊กฮวย คือ ดอกคาโมมายล์ (Chamaemelum nobile (L.) All. มีกลีบดอก 2 สี คือ สีขาว และสีเหลือง

สรรพคุณของเก็กฮวย

สามารถ ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ประโยชน์เก๊กฮวย

- ดอกเก๊กฮวยแห้งนิยมใช้ต้มหรือชงเป็นชาดื่ม น้ำเก๊กฮวยจะมีสีเหลืองอ่อน และให้กลิ่นหอมน่าดื่ม น้ำ ซึ่งอาจใช้ทั้งดอกเก๊กฮวยแห้งหรือผงดอกเก๊กฮวย
- ใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร คือ เก๊กฮวยสีเหลือง ซึ่งให้รสขม
- ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์
- ลำต้นเก๊กฮวย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
- ลำต้น และใบเก๊กฮวยที่เก็บดอกแล้ว ทำการไถกลบสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสดหรือนำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก


ใครที่กำลังมองหาร้านนั่งสบายชิวๆ แอร์เย็น บรรยากาศดี บริการประทับใจคนที่แวะมาใช้บริการต้องที่นี้เลยค่ะ โฮมก๋วยเตี๋ยวเรือ

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คุณค่าทางสารอาหาร

ถั่วงอกสรรพคุณไม่ธรรมดา จัดเป็นผักที่ให้คุณค่าทางสารอาหารมากมาย หลายคนที่ไม่ชอบกินถั่วงอก อ่านจบแล้วอาจเปลี่ยนใจ มากินถั่วงอกได้ง่ายขึ้น
ประโยชน์ของถั่วงอกเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามอยู่บ่อย ๆ เพราะบางคนก็เหม็นเขียวกลิ่นถั่วงอก ทั้งที่จริง ๆ แล้วสรรพคุณของถั่วงอกไม่ใช่ย่อยเลยนะคะ ดีต่อสุขภาพของเราหลายประการ และวันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอพาสรรพคุณถั่วงอกมาให้ทุกคนได้ทราบอย่างทั่วถึง ตามนี้เลย

ถั่วงอก ผักธรรมดา ที่มีคุณค่าต่อร่างกาย
ถั่วงอกเป็นต้นอ่อนของถั่วที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วเหลือง หรือถั่วลันเตา แต่โดยส่วนมากถั่วงอกที่เราได้กินกันทุกวันนี้จะเพาะมาจากเมล็ดถั่วเขียวผิวดำ เพราะมีอัตราการงอกที่ดีกว่า อายุเก็บเกี่ยวถั่วงอกสั้น และมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง
ถั่วงอกจัดเป็นพืชตะกูลถั่วชนิดหนึ่ง โดยถั่วงอก ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sprout หรือ Bean sprout ลักษณะของถั่วงอกจะมีรากงอกออกมาจากเมล็ดถั่วก่อน จากนั้นเปลือกเมล็ดจะปริแตก จากนั้นรากจะค่อย ๆ งอกเป็นลำต้นสีขาว ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร


สรรพคุณของถั่วงอก บอกเลยว่าแจ่ม !

1. ช่วยในการย่อยและระบบขับถ่าย
ในถั่วงอกมีไฟเบอร์อยู่จำนวนไม่น้อย อีกทั้งยังมีน้ำ และเอนไซม์ชนิดหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ช่วยย่อยอาหารในระบบลำไส้ ทำให้การดูดซึมแร่ธาตุ-สารอาหารของลำไส้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งไฟเบอร์และน้ำในถั่วงอกยังจะช่วยให้ระบบขับถ่ายมีความคล่องตัวมากขึ้น ช่วยลดของเสียและสิ่งตกค้างในร่างกายไปกับการขับถ่ายด้วย

2. ช่วยให้ดูอ่อนกว่าวัย
ด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในถั่วงอก ทำให้ถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณ อีกทั้งในถั่วงอกยังมีสารต้านความชราที่ชื่อว่า ออซินอน โดยสารตัวนี้มีคุณสมบัติบำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้มีความฟิตเฟิร์ม ไม่แก่เร็วเกินไปก่อนเวลาอันควร ที่สำคัญด้วยคุณสมบัติของไฟเบอร์และน้ำในถั่วงอก ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย การรับประทานถั่วงอกเข้าไปจึงจะช่วยให้ร่างกายขับของเสียและสิ่งตกค้างออกมาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

3. ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
ด้วยความที่ถั่วงอกมีทั้งวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด คุณสมบัตินี้ทำให้ถั่วงอกมีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยเติมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกันโรคหวัด นอกจากนี้วิตามินซียังช่วยกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้เกิดความแอคทีฟ ร่างกายจึงจะมีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสและเชื้อโรคที่อาจก่ออาการอักเสบตามเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้นด้วยนั่นเอง

4. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
มีงานวิจัยจากต่างประเทศซึ่งระบุว่า เมล็ดถั่วเขียวที่กลายเป็นต้นถั่วงอกจะช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยโปรตีนได้ดีขึ้น และทำให้กรดอะมิโนบางชนิดสูงขึ้น อีกทั้งต้นถั่วงอกและต้นอ่อนยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทสารโพลีฟีนอลในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารที่ให้ผลทางเภสัชวิทยา เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดการแข็งตัวของเลือด ช่วยเหนี่ยวนำเอนไซม์ในการทำลายสารพิษในเลือด และช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดมีความคล่องตัวขึ้น จึงสามารถลดอัตราความเสี่ยงโรคหัวใจได้

5. ป้องกันโรคมะเร็ง
มีงานวิจัยที่ศึกษาปริมาณสารประกอบโพลีฟีนอลในกลุ่มฟลาโวนอยด์ในถั่วเขียวและถั่วเหลืองงอก ซึ่งพบว่า ปริมาณสารฟลาโวนอยด์จะเพิ่มมากขึ้นในระหว่างกระบวนการงอก และจะเพิ่มมากที่สุดหลังจากการงอก 6-8 วัน ซึ่งต้นถั่วเขียวงอกมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวม 268 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนต้นถั่วเหลืองงอกพบสารฟลาโวนอยด์ชนิดเคอร์เซตินประมาณ 78.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสารฟลาโวนอยเหล่านี้มีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ในการทำลายสารพิษที่เกิดกับเซลล์ร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์อักเสบต่าง ๆ


นอกจากนี้ในถั่วเหลืองและต้นงอกยังพบว่ามีสารประกอบไฟโตเอสเจน ซึ่งเป็นสารประกอบเอสโตรเจนที่ได้จากพืช ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ สารกลุ่มไอโซฟลาโวน สารกลุ่มเทอปีน และสารกลุ่มลิกนิน ซึ่งผลทางระบาดวิทยาพบว่า ไฟโตรเอสโตรเจนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากในการป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมไปถึงลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และปัญหาที่เกี่ยวกับอาการหลังการหมดประจำเดือนได้
ทั้งนี้ยังมีข้อมูลทางวิชาการที่พบว่า ต้นถั่วเหลืองงอกและต้นถั่วดำงอกมีสารซาโพนินในปริมาณมาก ซึ่งสารซาโพนินมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้ โดยจะเข้าไปรบกวนการแบ่งเซลล์และการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้เซลล์มะเร็งลดลงและตายลงในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ร่างกายต้องการของหวานหรือเครื่องดื่มหวานๆเพราะอะไร….?

เครื่องดื่ม

เวลาที่อากาศร้อนๆ หรือรู้สึกเหนื่อยขึ้นมา เชื่อว่าหลายคนคงร้องเรียกหาของหวานๆ เย็นๆ ไม่ว่าจะเป็นของหวานหรือเครื่องดื่ม มากินให้ชื่นใจ ซึ่งเมื่อกินเข้าไปแล้วก็จะรู้สึกสดชื่นขึ้นมาในทันที เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้นเรามีคำตอบมาให้ค่ะ
ทั้งเครื่องดื่ม และของหวานต่างๆ นี้ มีความหวานมาจากน้ำตาล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลชนิดใดก็จะให้ความหวาน และมีประโยชน์ในด้านการให้พลังงานแก่ร่ายกาย โดยเฉพาะน้ำตาลกลูโคสที่มีหน้าที่ให้พลังงานแก่สมอง และช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารเคมีในสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่นและอารมณ์ดีขึ้น นี่จึงเป็นที่มาของสาเหตุที่เรากินของหวานเข้าไปแล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า คนที่บริโภคน้ำตาลเข้าไปในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ พลังงานส่วนเกินนี้ก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นพลังงานสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น นอกจากนี้ ร่างกายก็ยังเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินให้กลายเป็นไขมันได้อีกด้วย


ดังนั้นของหวานไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่ากลัว คนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเป็นตัวทำให้อ้วน แต่อีกแต่อีกด้านหนึ่งมันยังให้พลังงานแก่ร่ายกายของคุณด้วยล่ะ!!! ซึ่งวันนี้เราก็มีเมนูขนมหวานเย็นชื้นใจมาฝากกันค่ะ นั้นก็คือ ไอติมกะทิสดและลอดช่องวัดเจษฯ ทั้งสองอย่างนี้มีให้ทานกันที่ร้าน “โฮมก๋วยเตี๋ยวเรือ ” อย่าลืมมาลิ้มลองกันนะคะ

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมุนไพรไทยอย่างกระเทียมรักษาโรคได้อย่างน่าทึ่ง



หากจะพูดถึงสมุนไพรไทย ที่มีสรรพคุณมากมาย ทั้งรักษาโรค บำรุงเลือดและแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดี หลายคนของนึกถึง “กระเทียม” สมุนไพรที่อยู่คู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน อย่างที่เกริ่นกันมาว่ากระเทียมไม่เพียงแต่เป็นวัตถุดิบที่ช่วยชูรสชาติของอาหารไทยเท่ากัน แต่สรรพคุณทางยาก็ครบครัน ทำให้หลายคนชื่นชอบการรับประทานกระเทียม ไม่ว่าจะเป็นกระเทียมสด กระเทียมเจียว กระเทียมดอง หรือแม้กระทั่งสารสกัดที่เป็นน้ำมันกระเทียม และกระเทียมแบบแคปซูล อย่างไรก็ตามแม้ “กระเทียม” จะมีประโยชน์มากมาย แต่หากรับประทานมากจนเกินไปก็ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน

ได้ทานกระเทียมมากไป ก็เกิดโทษได้นะ

1. กระเทียมทำให้มีกลิ่นตัว (โทษของกระเทียม) เนื่องจากกระเทียมเป็นสมุนไพรทีมีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีกลิ่นฉุนๆ เย็นๆ ดังนั้นการรับประทานกระเทียมมากๆ จะทำให้มีกลิ่นกระเทียมติดตัว โดยเฉพาะกลิ่นปาก เนื่องจากในกระเทียมมีสารเคมี‘อัลลิอิน’ (Alliin) อยู่ในปริมาณมาก สังเกตได้ว่าเมื่อกระเทียมถูกหั่น สารดังกล่าวจะระเหยออกมาและเมื่อสารดังกล่าวทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ในปากจะทำให้เกิดกลิ่นฉุน ดังนั้นหลังรับประทานกระเทียมทุกครั้งควรทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดด้วยการแปรงฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปาก
2. กระเทียมทำให้เกิดอาการร้อนใน (โทษของกระเทียม) กระเทียมถือเป็นสมุนไพรที่ให้ความเผ็ดร้อน เมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองทั้งในช่องปากและช่องท้อง โดยทำให้เกิดอาการร้อนในตามมา หรือในบางรายที่ไม่ได้รับประทานอาหารรองท้องก่อนจะทำให้เป็นกระเพาะอักเสบ ปวดท้อง แน่นท้องและมีลมในช่องท้องได้
3. กระเทียมส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ (โทษของกระเทียม) จากการรายงานพบว่าน้ำมันหอมระเหยในกระเทียมมีฤทธิ์ทำลายอสุจิได้ โดยเมื่อทดลองกับหนูตะเภาและหนูแรททำให้ทราบว่าอสุจิไม่แข็งแรง เมื่อเปรียบเทียบกับปฏิกิริยาในร่างกายมนุษย์อาจสรุปได้ว่าทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรือเป็นหมัน แต่จากรายงานไม่พบว่าทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อสัตว์ทดลองตัวเมีย ดังนั้นจึงไม่เพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรของหญิงตั้งครรภ์แต่อย่างใด
4. กระเทียมอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง (โทษของกระเทียม)จากการทดลองของสำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าเมื่อหลังฉีดน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากกระเทียมเข้าในตัวสัตว์ทดลองเพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน พบว่าสัตว์ทดลองมีอาการมึนงง กระสับกระส่าย และเมื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมพบว่าทำให้สัตว์ทดลองตาย ดังนั้นความรุนแรงของอาการแพ้กระเทียมในมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยหากรับประทานกระเทียมแล้วเกิดอาการคัน มีผื่นขึ้นตามตัว หรือมีอาการแน่นหน้าอก ให้หยุดรับประทานทันทีและรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด
5. กระเทียมส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด (โทษของกระเทียม) ตามหลักโภชนาการอาหารได้จัดกระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดเหลวและแข็งตัวช้า ดังนั้นการรับประทานกระเทียมจะช่วยลดอาการหลอดเลือดอุดตันและลโรคหัวใจได้ดี แต่ในรายที่เลือดจางหรือเลือดแข็งตัวช้าอยู่แล้ว การรับประทานกระเทียมเข้าไปยิ่งทำให้เลือดจางและแข็งตัวช้าเพิ่มขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังมีรายงานระบุว่ามีชายอายุ 23 ปี ที่ไม่มีประวัติหรือมีความเสี่ยงภาวะโรคหัวใจมาก่อน แต่กลับมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หลังจากรับประทานกระเทียมในปริมาณสูงและก่อนมีอาการ ชายรายดังกล่าวเคยมีอาการเจ็บหน้าอก 2 ครั้ง เมื่อรับประทานกระเทียมเป็นจำนวนมาก

จะเห็นได้ว่า แม้ “กระเทียม” จะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายเพียงใด แต่หากรับประทานมากเกินไปก็ทำให้เกิดโทษได้เช่นเดียวกัน โดยอันตรายที่ว่านี้ไม่เพียงเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในเท่านั้น แต่ยังเกิดได้กับอวัยวะภายนอกอย่างผิวหนัง ถ้าหากเราทำกระเทียมหรือน้ำมันหอมระเหยของกระเทียมมาทาตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายเพื่อลดเลือนรอยสิว หรือแผลเป็นตามที่เห็นในอินเทอร์เน็ต จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ผิวหนังอักเสบและเกิดรอยไหม้เพิ่มได้

ดังนั้นการบริโภคกระเทียมในแต่ละครั้งจำเป็นต้องใส่ใจปริมาณให้มากๆ และต้องสังเกตุตนเองเกี่ยวกับอาการแพ้ รวมไปถึงต้องหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าตนเองมีโรคประจำตัวหรือมีภาวะเสี่ยงในการรับประทานกระเทียมหรือไม่ เพียงเท่านี้รับรองว่าการรับประทานกระเทียมของคุณจะได้ประโยชน์เต็มร้อย โดยไม่มีผลข้างเคียงหรือได้รับโทษจากกระเทียมแล้วล่ะค่ะ

ประวัติลอดช่องวัดเจษฯ แฟนพันธุ์แท้เท่านั้นที่รู้

ลอดช่องวัดเจษฯ เป็นชื่อที่เรียกติดปากกันไปแล้ว ถ้าจะกินลอดช่องก็ต้องพ่วงคำว่าวัดเจษฯ เข้าไปด้วย ถือว่าเป็นลอดช่องที่ทุกคนกิน ของมันต้องมีอ...